Operator in Python

ไพทอน เป็นภาษาโปรแกรมมิ่งที่มีความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน จัดอยู่ในระดับ 4GL(4 Generation Language) ภาษานี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาการเขียนโค้ด และยังเหมาะกับการทำงานหลาย ๆ อย่างในยุคปัจจุบันอีกด้วย โดยในบทความนี้จะมาแนะนำให้รู้จักกับตัวปฏิบัติการต่าง ๆ ในไพทอน

Objective of Python Operator

ตัวปฏิบัติการพื้นฐานในภาษานี้จะมีอยู่ 7 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

  1. Arithmetic Operator ตัวดำเนินการประเภทนี้จะเกี่ยวกับการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วย Addition(+), Subtraction(-), Multiplication(*), Division(/) การใช้งานของเครื่องหมาย 4 ตัวนี้ก็เป็นไปตามหลัก บวก ลบ คูณ หาร ตามปกติ โดยให้ความสำคัญกับเครื่องหมายเช่นเดียวกับหลักคณิตศาสตร์ และนอกจากนี้ยังมี Exponentiation(**) ทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายยกกำลัง, Floor Division(//) ใช้สำหรับการหารแบบไม่แสดงผลในส่วนที่เป็นเศษ, Modulus(%) ใช้สำหรับการหารที่ต้องการให้แสดงผลเฉพาะเศษ
  2. Relational Operator เป็นการทำงานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เช่นเดียวกันแต่จะเป็นด้านการเปรียบเทียบค่าของตัวเลข และแสดงผลว่าเป็นจริงหรือเท็จเท่านั้น ได้แก่ Less than(<), Greater than(>), Less than or equal to(<=), Greater than or equal to(>=), Equal to(==), Not equal to(!=)
  3. Assignment Operator ทำหน้าที่ประกาศค่าตัวแปรรวมไปถึงการดำเนินการต่าง ๆ กับตัวแปรอีกด้วย วิธีประกาศค่ามีดังนี้ Assign(=), Add and Assign(+=), Subtract and Assign(-=), Divide and Assign(/=), Multiply and Assign(*=), Modulus and Assign(%=), Exponent and Assign(**=), Floor-Divide and Assign(//=) ซึ่งตัวแปรจะมีค่าตามที่กำหนดถ้าเป็น integer หรือ float ก็จะสามารถใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์มาช่วยได้หากเป็น string ก็จะทำได้แค่ประกาศค่า
  4. Logical Operator ข้อนี้จะทำงานด้านตรรกะและเหตุผล มี and, or, not หลักการทำงานแบบเดียวกับตรรกะศาสตร์ในคณิตศาสตร์ โดยจริงและจริงเท่านั้นที่เป็นจริง เท็จหรือเท็จเท่านั้นที่เป็นเท็จ
  5. Membership Operator หลักการทำงานคล้ายกับเรื่องเซตในคณิตศาสตร์ โดยประกาศสมาชิกในเซตใด ๆ และใส่สิ่งที่ต้องการจะตรวจสอบลงไปว่าเป็นสมาชิกในเซตนั้น ๆ หรือไม่ ซึ่งจะแสดงผลเป็นจริงหรือเท็จเท่านั้น คำสั่งที่ใช้ตรวจสอบคือ in และ not in 
  6. Identity Operator ใช้สำหรับระบุว่าค่าที่ปรากฏนั้นมีค่าเดียวกันหรือไม่ เช่น 2 is ‘2’ จะ out put ออกมาเป็น False เพราะตัวแรกเป็น integer แต่ตัวหลังเป็น string ซึ่งจะมีคำสั่งคือ is และ is not
  7. Bitwise Operator มีเครื่องหมายสำหรับใช้งานดังนี้ Binary AND(&),Binary OR(|),Binary XOR(^),Binary One’s Complement(~),Binary Left-Shift(<<),Binary Right-Shift(>>)

Conclusion

โดยรวมแล้วตัวปฏิบัติการทั้ง 7 อย่างใน ไพทอนนี้จะอ้าอิงมาจากหลักการพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ตั้งแต่เรื่องลำดับความสำคัญของเครื่องหมาย การเปรียบเทียบ จนถึง ตรรกะศาสตร์ดังนั้นหากจะเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งนั้นจำเป็นจะต้องเรียนรู้หลักการทางคณิตศาสตร์ด้วย

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ SBC-BLOG และ Facebook page Subbrain

ขอขอบคุณความรู้จาก Data Flair

ติดตาม SUBBRAIN ได้ที่นี่