แรงงานนอกระบบ ในประเทศไทย

ชุดข้อมูลนี้สำรวจและจัดทำขึ้นโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยเป็นข้อมูลของปี 2563 และปี 2564 (ของปี 64 เก็บรวบรวมในไตรมาสที่ 3 เดือนกรกฎาคม – กันยายน) สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มของการสำรวจในปี 2564 ได้ที่นี่ และในระเบียบวิธีสถิติของการสำรวจนี้ระบุไว้ว่า แรงงานนอกระบบ หมายถึงผู้มีงานทำที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง หรือไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงานเช่นเดียวกับแรงงานในระบบ

จำนวนแรงงานนอกระบบแยกตามเพศชาย/หญิง

Figure 1

จากรูปที่ 1 จะเห็นว่ามีแรงงานเพศชายนอกระบบมากกว่าแรงงานเพศหญิงนอกระบบอยู่ประมาณ 2 ล้านคนทั้งในปี 63 และปี 64 ซึ่งแรงงานนอกระบบในปี 2564 นั้นมีจำนวนทั้งหมดอยู่ที่ 19.6 ล้านคน ลดลงจากปี 2563 ไปประมาณ 7.6 แสนคน

จำนวนแรงงานนอกระบบแยกตามภาค (รวม กทม.)

Figure 2

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนแรงงานนอกระบบมากที่สุดและเพิ่มขึ้นอีก 2 แสนคนในปี 64 ขณะที่ภาคอื่น และกรุงเทพมหานครนั้นมีจำนวนแรงงานนอกระบบลดลง

จำนวนแรงงานนอกระบบแยกตามระดับการศึกษา

Figure 3

แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่จะมีระดับการศึกษาอยู่ที่ประถมศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา โดยผู้ที่ไม่มีการศึกษาหรือที่ไม่สามารถระบุได้นั้นจะมีเป็นส่วนน้อย

Conclusion

สามารถอ่านบทสรุปสำหรับผู้บริหารได้จากรายงานที่นี่ โดยจะมีแจกแจงถึงปัญหาที่แรงงานนอกระบบให้อ่านพร้อมกับข้อมูลและวิธีการทางสถิติที่ใช้โดยละเอียดอีกด้วย

ติดตามบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ SBC Blog

LINE OA: SUBBRAIN

Facebook: SUBBRAIN