ความสำคัญของ Big Data ในธุรกิจประเภทต่าง ๆ

Big Data หากให้จำกัดความโดยง่ายมันก็คือข้อมูลที่สามารถนำมาสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ รวมถึงสร้างประสบการณ์ในการใช้สินค้าหรือบริการที่ดีขึ้นแก่ผู้ใช้งานอีกด้วย ซึ่งตัวข้อมูลที่นำมาใช้ในธุรกิจนั้นไม่ได้จำเป็นว่าต้องมีปริมาณมหาศาลขนาดใหญ่แต่อย่างใด ส่วนสาเหตุที่เรียกว่าบิ๊กดาต้านั้นเป็นเพราะว่าข้อมูลที่เป็นประโยชน์เหล่านี้จะแอบซ่อนอยู่ในกลุ่มข้อมูลจำนวนมากนั่นเอง (การหา Hidden Pattern จากข้อมูลจำนวนมาก) ในปัจจุบันมีการนำข้อมูลมาปรับใช้กับธุรกิจเพิ่มขึ้นมากมาย โดยมีตัวอย่างดังนี้

  1. Recommendation System ระบบแนะนำสิ่งที่ผู้ใช้สนใจ โดยจะแตกต่างกันไปในแต่ละ user เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ใช้กลับมาใช้แพลตฟอร์มของเรามากยิ่งขึ้น
  2. Customer Segmentation ใช้กับธุรกิจที่มีลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากวิธีนี้จะช่วยให้เสนอโปรโมชั่นได้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เสนอสินค้าและบริการที่ตรงกับกลุ่มลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
  3. Up-Selling and Cross-Selling การทำ up-selling เป็นการเสนอสินค้าที่มีราคาสูงขึ้นให้กับลูกค้าเพียงแต่สูงขึ้นที่ว่าอาจหมายถึงคุ้มค่าตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้นด้วย ส่วน cross-selling เป็นการแนะนำสินค้าที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันหรือต้องใช้งานประกอบกัน
  4. Fraud Detection การตรวจสอบความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการใช้งานหรือสิ่งที่แตกต่างไปจากพฤติกรรมเดิม ๆ ของผู้ใช้บริการ
  5. Price Optimization สำหรับปรับราคาสินค้าและบริการให้เหมาะสมที่สุดตามความต้องการกับช่วงเวลา

นอกจากนี้ยังมี Use Cases อีกมากมายที่ทำกัน โดยในบทความถัด ๆ ไปจะมาลองวิเคราะห์กัน

ขั้นตอนการนำ Big Data
มาใช้ในธุรกิจ

การที่จะมีข้อมูลมาใช้นั้นย่อมต้องเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อน ประเภทของข้อมูลนั้นมี 2 อย่างหลัก ๆ ที่พูดถึงกันเป็นประจำคือ Structured Data และ Unstructured Data โดยแหล่งที่มาจะแบ่งเป็น Internal Data Source กับ External Data Source ส่วนในแง่ของลักษณะของข้อมูลนั้นจะแบ่งเป็น Demographic Data และ Behavior Data วิธีการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลจะมีดังนี้

  1. ข้อมูลภายในองค์กรที่มีอยู่ต้องนำมาจัดเก็บลง Database เพื่อให้ง่ายต่อการเรียกใช้ ค้นหา หรือนำไปวิเคราะห์เบื้องต้น เช่น ข้อมูลลูกค้า, ข้อมูลสินค้าหรือบริการ, ข้อมูลบริษัท, ข้อมูลของสาขา ฯลฯ เป็นต้น การจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้มักทำเป็นตารางที่ประกอบด้วย Column กับ Row และใช้ SQL ในการจัดการ
  2. การทำแบบสอบถามแบบสำรวจตามหัวข้อเรื่องที่ต้องการศึกษา ด้วยความทันสมัยของโลกยุคใหม่ทำให้แบบฟอร์มเหล่านี้ทำผ่านคอมพิวเตอร์ มือถือ แท็บเล็ตได้ และยังสามารถดาวน์โหลดออกมาเป็นตาราง spread sheet แบบ csv, excel ได้อีกด้วยทำให้ง่ายต่อการบันทึกกับการนำไปใช้มากยิ่งขึ้น
  3. ข้อมูลจาก Social Media ทั้ง Facebook, Line, Twitter สิ่งที่สามารถเก็บได้คือข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้งาน พฤติกรรมการคลิก ไลก์ คอมเม้นท์ รีทวิต ข้อความคุยโต้ตอบ ฯลฯ โดยการเก็บพวกนี้จะทำด้วย Coding ใช้ดัก action ต่าง ๆ และเชื่อมต่อไปยัง application ด้วย API
  4. ข้อมูลจากหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ อย่างรายชื่อธุรกิจ รายชื่อผู้ประกอบการ อีเมลล์ เบอร์โทร ตามแหล่งข้อมูลสาธารณะ วิธีการเก็บนั้นทำด้วยวิธีการ Web Scrapping ซึ่งดีกว่าการ Copy Paste มากเพราะไม่จำเป็นต้องทำซ้ำ อีกทั้งยังลดข้อผิดพลาดหากต้องทำในปริมาณมาก ๆ ไปจนถึงสามารถจัดเก็บได้ในรูปแบบที่ต้องการอีกด้วย
  5. การเก็บข้อมูลการใช้งานจาก Application หรือ Platform ของธุรกิจนั้น ๆ หลักการเดียวกับของ Social Media แต่จะได้ข้อมูลเชิงพฤติกรรมมากกว่า

จากที่กล่าวมานี้ถือเป็นช่องทางที่หาข้อมูลได้จำนวนมหาศาลมากและยังสามารถทำเองได้อีกด้วย แต่นอกจากนี้ยังมีการซื้อข้อมูลหรือการลงทุนสำรวจต่าง ๆ อีกเช่นกัน ขั้นต่อมาคือการเก็บและการนำมาใช้

  1. ข้อมูลที่ได้มาในตอนแรกนั้นอาจเก็บอยู่ในรูปแบบไฟล์ ถ้าข้อมูลไม่เยอะมากนักก็สามารถใช้ได้เลยแต่ถ้าหากเป็นธุรกิจขนาดใหญ่มากขึ้นการเก็บเป็นไฟล์นั้นย่อมมีปัญหาแน่นอน จึงควรนำมาเก็บลง Database ก่อนเป็นอันดับแรก
  2. การเก็บจะมีทั้ง Relational Database Management System และ Non-Relational Database Management System โดยจะแตกต่างกันที่เป็นรูปแบบ Structured หรือ Unstructured
  3. SQL ข้อมูลจะเก็บในรูปแบบตารางสามารถเรียกดู อัพเดท แก้ไข รวมข้อมูลได้สะดวกมาก แก้ปัญหาการบันทึกซ้ำซ้อน ข้อมูลตกหล่น ประหยัดพื้นที่จากการสร้างไฟล์เพื่ออัพเดทข้อมูลที่มีอยู่เดิม
  4. NoSQL จะเก็บข้อมูลที่หลากหลายรูปแบบมาก (ที่มาจากช่องทาง Social Media, Website, Application) รูปแบบการบันทึกมีทั้ง Key-Value Database, Document Database, Column-Oriented Database, Graph Database
  5. วิธีจัดการกับข้อมูลจำนวนมากนี้จะมีทั้ง Scaling up และ Scaling out โดยใช้ Hadoop, Spark, Hive ต่าง ๆ เข้ามาช่วยโดยหลักการคือทำ Map และ Reduce หรือก็คือการแยกแล้วบันทึกเป็นส่วน ๆ นอกจากนี้ยังทำบน RAM ได้อีกด้วยส่งผลให้เร็วกว่าการนำไปเขียนบนฮาร์ดดิสก์แล้วส่งไปมากว่าแต่ก่อนมาก
  6. การนำมาใช้นั้นทำได้หลากหลายทั้งเชื่อม Database กับ API เพื่อทำ Web E-commerce, Application, Platform ที่ต้องตัดสต๊อกสินค้าหรือดึงข้อมูลผู้ใช้งานเป็นประจำ ส่วนในการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถนำมาแบ่ง train test เพื่อทำโมเดลได้ ไม่ว่าจะเป็นเชิงสถิติศาสตร์ หรือ Data Science ก็ตาม

Conclusion

การนำ Big Data มาใช้กับธุรกิจทำได้ในทุกอุตสาหกรรม โดยการเก็บข้อมูลนั้นหาได้จากทั้งภายใน และภายนอกองค์กรประโยชน์ของมันคือการลดข้อผิดพลาดในการบันทึก ลดความซ้ำซ้อนของการบันทึกข้อมูล แก้ปัญหาเรื่องการบันทึกข้อมูลไม่ตรงกัน อีกทั้งยังสามารถนำไปเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ Application, Platform ต่าง ๆ ได้อีกด้วย ท้ายที่สุดเรามี Keyword ตัวอย่างที่เป็นการใช้ข้อมูลทำประโยชน์ให้ไปศึกษากันอีกด้วยได้แก่ Customer Lifetime Value, Next Best Action, Propensity to Buy, Churn Prevention, Risk Management, Demand Forecast, Predictive Maintenance

อ่านบทความอื่นได้ที่ SBC-Blog เเละ Facebook page Subbrain

ติดตาม SUBBRAIN ได้ที่นี่