PSYCHOLOGY WITH ADVERTISING

จิตวิทยากับการโฆษณา จิตวิทยาเป็นเรื่องของการที่สมองถูกควบคุมและโน้มน้าวให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง การโฆษณาเองก็เป็นการชักจูงเเละโน้มน้าวผู้บริโภคเช่นกัน โดยจิตวิทยาที่มีการใช้กันมาอย่างช้านานแล้วนั้นเรียกว่า Folk psychology (จิตวิทยาแบบชาวบ้าน) สิ่งนี้เป็นการทำความเข้าใจว่าอะไรมีผลต่อความรู้สึกของคนและนำไปสู่วิธีการโน้มน้าวให้คนปฏิบัติตามอีกทีซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้กันอย่างมากในธุรกิจกับการตลาดและการโฆษณา

จิตวิทยากับการโฆษณาเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?

เมื่อพูดถึงการทำธุรกิจนั้นสิ่งที่ขาดไปไม่ได้ก็คือการโฆษณาสองสิ่งนี้เคียงคู่กันมาอย่างยาวนานเพราะว่าการโฆษณาเป็นหนึ่งในช่องทางที่จะทำให้ผู้บริโภครู้จักธุรกิจนั้น ๆ และสามารถใช้สร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ได้อีกด้วย ซึ่งโฆษณานั้นถูกทำขึ้นเพื่อจูงใจโน้มน้าวให้ผู้ที่ได้รับชมเกิดความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการหรือเหตุผลอื่น ๆ ก็ตามแต่ ดังนั้นจิตวิทยาจึงเข้ามามีความเกี่ยวข้องกับการโฆษณาเพราะว่าจิตวิทยาก็คือการศึกษาการทำงานของจิตใจและพฤติกรรมของมนุษย์ การโฆษณาเองก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อการโน้มน้าวจิตใจและก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการพูดง่าย ๆ ว่าการโฆษณานั้นเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่สำคัญของจิตวิทยา

วิธีการของโฆษณา

จากที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อไม่ให้เราตกเป็นเหยื่อของโฆษณาหรือจิตวิทยาจึงควรศึกษาวิธีการหลัก ๆ ของโฆษณาเพื่อให้รู้เท่าทันและตัดสินใจเลือกสินค้าหรือบริการได้อย่างถูกต้อง

  1. ข้อมูล(Information) โฆษณาส่วนใหญ่หรือเกือบจะทุกๆโฆษณาจะต้องมีข้อมูลอยู่ด้วย โดยทำหน้าที่บอกให้ทราบถึงคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการ ช่องทางและสถานที่จัดจำหน่าย การชี้แจงเกี่ยวกับสินค้าตัวใหม่ หรือแม้กระทั่งวิธีการสั่งซื้อต่างๆ เช่น โฆษณา พิซซ่า เดลิเวอรี่ ที่มีทั้งเบอร์โทรสั่ง วิธีการ และโปรโมชั่นต่างๆที่ร้านต้องการให้ทราบ เป็นต้น
  2. ความแปลกใหม่(Novelty) ความแปลกใหม่ที่ดีมักเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ดังนั้นจึงพบเห็นคำว่า “ใหม่” “ดีกว่าเดิม” หรือคำทองนี้ได้บ่อยในโฆษณาเพราะว่าการปรับปรุงหรือหาคุณสมบัติใหม่ๆจะเป็นสิ่งที่ช่วยโน้มน้าวให้ผู้ชมโฆษณารู้สึกชอบสินค้าและบริการนั้น ๆ
  3. การเปรียบเทียบ(Comparison) ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักจะเปรียบเทียบสินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อหาความคุ้มค่าที่สุดในการตัดสินใจซื้อในแต่ล่ะครั้ง ซึ่งโฆษณาเองก็ใช้ประโยชน์จากจุดนี้เช่นกัน อย่างการนำโปรโมชั่นมาโฆษณา เช่น พิซซ่า เดลิเวอรี่ ปกติถาดล่ะ 199 บาท “โปรโมชั่นพิเศษสำหรับหน้าฝนหากซื้อพิซซ่าครบราคา 450 บาท แถมฟรีพิซซ่าอีกหนึ่งถาดรสชาติใดก็ได้”          ผู้บริโภคเมื่อเห็นโฆษณาลักษณะนี้ก็ยากที่จะตัดสินใจไม่ซื้อตามโปรโมชั่นเพราะมีความรู้สึกว่าจ่ายเพียงแค่ 450 บาทแต่ได้กินถึง 3 ถาด ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วเราอาจจะไม่ได้ต้องการที่จะบริโภคมากขนาดนั้นก็ได้ พูดง่ายๆว่าบางครั้งธุรกิจก็นำโปรโมชั่นต่างๆมาใช้เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบระหว่างผลิตภัณฑ์ต่างๆของตนอันเป็นการโน้มน้าวให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจและตัดสินใจซื้อ
  4. ระดับราคาสินค้า(Range) คล้ายกับการเปรียบเทียบโดยโฆษณาจะนำราคาสินค้าที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์เกิดความน่าสนใจส่วนมากมักจะตั้งราคาสินค้าค่อนไปทางสูงเพื่อให้ผู้ซื้อเกิดความรู้สึกว่าของที่ตนเลือกนั้นเป็นของที่มีระดับเล็กน้อยไม่ดูแย่จนเกินไป
  5. การลดราคา(Reduction) พบเห็นได้บ่อยมากในโฆษณาต่างๆเพราะการลดราคาทำให้ผู้ซื้อรู้สึกว่าตนได้กำไรจากการซื้อสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ทั้งๆที่บางครั้งไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้าที่ลดราคาตัวนั้นก็ได้ เช่น สบู่ A ที่ใช้เป็นประจำราคาก้อนล่ะ 50 บาท ต่อมาได้มีการจัดโปรโมชั่นกับสบู่ B ที่ปกติราคา 150 บาทลดเหลือก้อนล่ะ 75 บาท ทำให้ผู้ซื้อเลือกที่จะซื้อสบู่ B ที่ต้องเพิ่มเงินถึง 25 บาท ทั้งๆที่สบู่ A ก็สามารถใช้ได้ดีอยู่แล้วเช่นกันเป็นต้น

    Conclusion

    สรุปได้ว่า จิตวิทยากับการโฆษณา นั้นมีความสำคัญต่อกันโดยจิตวิทยาเป็นเรื่องของการที่สมองถูกควบคุมและโน้มน้าวให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนโฆษณานั้นก็เช่นเดียวกันทำขึ้นเพื่อโน้มน้าวและชักจูงให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้การรู้ทันโฆษณาต่างๆก็เป็นสิ่งสำคัญอีกด้วยเพื่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการเกิดความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุดนั่นเอง

    ดูเพิ่มเติมได้ที่ Marketing เเละ Facebook page Subbrain

    ติดตาม SUBBRAIN ได้ที่นี่