ทำเมนูอะไรดีจากของเหลือในตู้เย็น?

ทำเมนูอะไรดี จากของเหลือในตู้เย็น? ก่อนอื่นต้องขอพูดถึงเรื่อง Food Waste ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งในระดับโลก จากผลสำรวจของ WRAP พบว่าภาคครัวเรือนในสหราชอาณาจักร (UK) มีการทิ้งอาหารที่ยังสามารถรับประทานได้ถึง 4.7 ล้านตันต่อปี ซึ่งอาหารที่ไม่ได้ถูกรับประทานเหล่านี้คิดเป็น 10% ของปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้น และเพื่อช่วยลดปัญหาอาหารเหลือทิ้งนี้ Hellmann’s จึงเปิดตัวเครื่องมือ AI ที่จะช่วยคิดเมนูอาหารจากของที่เรามีในตู้เย็นได้ (Hellmann’s ผู้ผลิตมายองเนสรายใหญ่ของอังกฤษ เป็นที่รู้จักกันดีว่ามายองเนสเจ้านี้อร่อยเหาะ) โดยเจ้าผู้ช่วย AI ตัวนี้เบื้องหลังมี Google Cloud เป็นขุมพลังหลักในการรันงานวิเคราะห์สิ่งที่อยู่ในตู้เย็น และจับคู่กับสูตรอาหารแสนอร่อยแบบ Near Realtime โดยการทำงานของเครื่องมือนี้มีทั้งหมด 3 ขั้นตอน

  1. สแกนของที่มีในตู้เย็น: เปิดโทรศัพท์มือถือและเข้าแอปของ Hellmann’s (เข้าได้ที่ลิงก์นี้) จากนั้นถ่ายรูปหรือบันทึกวิดีโอวัตถุดิบที่คุณมีในตู้เย็น
  2. วิเคราะห์วัตถุดิบ: การทำงานส่วนนี้ใช้แพลตฟอร์ม Google Cloud’s Vertex AI ซึ่งมีเครื่องมือต่าง ๆ เช่น Gemini Pro Vision และ PaLM 2 พร้อมด้วย AI จาก Unilever สำหรับช่วยตรวจสอบและระบุส่วนผสมต่าง ๆ ตั้งแต่ผักไปจนถึงโปรตีน
  3. รับสูตรอาหาร: ขั้นตอนนี้จะใช้ Vertex AI Vector Search และอัลกอริทึมของ Unilever ในการค้นหาสูตรจากฐานข้อมูลสูตรอาหารที่มี แล้วจึงแนะนำสูตรอาหารแสนอร่อยให้ โดยสูตรนี้จะเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ในการทำอาหารเข้าไปให้ด้วยนอกเหนือจากสูตรที่ตรงไปตรงมาเพียงอย่างเดียว

ทดลองใช้เครื่องมือแนะนำเมนูอาหารได้ที่นี่ และ อ่านเพิ่มเติม

AInb-Post-12-Pic1

Few-shot learning

Few-shot learning คือหนึ่งในวิธีการเรียนรู้ของโมเดล Deep Learning โดยจะบอกตัวอย่างของข้อมูลที่เราต้องการจำแนกเพียงแค่ไม่กี่ตัวอย่างเท่านั้น
MYnb-Post-4-Pic1

Customer Segmentation – Data

การจัดกลุ่มลูกค้า หรือ Customer Segmentation นั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้ธุรกิจนำกลยุทธ์มาใช้ได้ตรงเป้ายิ่งขึ้น หนึ่งในวิธีจัดกลุ่มคือ RFM
Thai_Bangkok

How business can survive in COVID-19 situation?

สถานการณ์ COVID-19 ณ ขณะนี้เป็น Pandemic ที่ทั่วทั้งโลกต่างต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป องค์กร สถาบันต่าง ๆ ไปจนธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ต่างก็ล้มละลายกันถ้วนหน้า เรื่องนี้ทำให้ทุกคนต้องปรับตัว

ติดตาม SUBBRAIN ได้ที่นี่

Categories: Short News